การประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 2 หัวข้อ ”Soft Power : สายธารภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่านวัตกรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Next normal

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
11 พ.ย. 2565 795

การประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 2 หัวข้อ ”Soft Power : สายธารภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่านวัตกรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Next normal"
.
วันศุกร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2565
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม จัดการประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 2 หัวข้อ ”Soft Power : สายธารภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่านวัตกรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Next normal" ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
.
โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นาวี อุดร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ
.
และได้รับเกียรติจาก ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผู้กล่าวเปิดโครงการ
.
การปาฐถาขององค์ปาฐก : Soft Power และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม,สภาผู้แทนราษฎร
.
และการเสวนาวิชาการ ”Soft Power : สายธารภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่านวัตกรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย
✅ ศาสตราจารย์ ดร.นิติ ภวัครพันธุ์(Soft Power และพหุวัฒนธรรม)
✅ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร (Soft Power และการเมืองวัฒนธรรม)
✅ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม (Soft Power แห่งอีสาน)
✅ อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี ผู้ดำเนินรายการ
.
กิจกรรมในภาคบ่าย เป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการแบบบรรยาย ออนไลน์ และ โปสเตอร์ แยกตามห้องย่อยที่จัดเตรียมไว้
.
ซึ่งกิจกรรมในงานเป็นการ สร้างนักวิจัยมืออาชีพและสร้างภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยนครพนมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย จำนวน 15 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยมีการบรรยายพิเศษ (Keynote Speaker) จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาวิชา การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) และ การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
.
สาขาที่เข้าร่วมส่งบทความ ได้แก่
ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม
ด้านการศึกษา
ด้านวิทยาศาสตร์
ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี
ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
.
และบทความที่ได้รับการประเมินในระดับยอดเยี่ยมและดีเด่น ที่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยนครพนม (TCI1) และ วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จำนวน 3 บทความจากบทความทั้งสิ้น 148 บทความ จำแนกเป็นบทความ จากนักวิชาการ นักวิจัย จำนวน 97 บทความ และบทความจากระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 51 บทความ ได้แก่
.
✅1️⃣.รางวัลดีเยี่ยม บทความ: นวัตกรรมการย้อมสีผ้าด้วยไมยราบเพื่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เจ้าของบทความ อาจารย์ วิชุดา แพงโทและคณะ สังกัด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดกามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
✅2️⃣.รางวัลดีเด่น บทความ : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ ตามแนวทาง SEASES Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เจ้าของบทความ อาจารย์สุดารัตน์ วงศ์ยศ สังกัด โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า เทศบาลนครเชียงราย
✅3️⃣.รางวัลดีเด่น บทความ : การศึกษาปัจจัยที่สำคัญเพื่อนำมาตรฐานสากลสำหรับประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง ด้านการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทย เจ้าของบทความ อาจารย์ชนม์วรรธน์ งามเลิศประเสริฐ และคณะสังกัด คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
_________________________________________________________________
#RDI #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยนครพนม
โพสต์ล่าสุด
27 พ.ค. 2568 3
29 พ.ค. 2568 17
31 พ.ค. 2568 30
11 เม.ย. 2568 28