โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สนองพระราชดำริ โดย มหาวิทยาลัยนครพนม
โครงการ อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยนครพนม
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงเริ่มงานพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการรวบรวมรักษาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากและ กําลังจะหมดไป
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสานพระราช ปณิธานต่อ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างธนาคาร พืชพรรณขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในระยะที่ผ่านมาถึง ปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสนองพระราชดำริเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่และกิจกรรมของโครงการได้ ขยายและกระจายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งมีแนวทางการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้นโดยลำดับ และได้บรรลุผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยประจักษ์ชัดแล้ว
มหาวิทยาลัยนครพนม ได้รับอนญาตให้จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเพทรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 เพื่อดำเนินงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากร และเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพืชและภูมิปัญญา การใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตประจำวันของคนในชุมชน การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพและกายภาพในชุมชน อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนแก่ชุมชนต่อไป
แผนแม่บทโครงการฯ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินงานตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564) โดยมีกิจกรรม 8 กิจกรรมที่อยู่ภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน และ 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โดยที่ อพ.สธ.สนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริจัดทำแผนปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภายแม่บทในแต่ละปีงบประมาณตลอดระยะเวลา 5 ปี ให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ. หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีเฉพาะในส่วนของหน่วยงานของตนให้ชัดเจน โดยระบุสาระสำคัญในการดำเนินงาน เช่น พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน วิธีการ และขั้นตอนการดำเนินงาน และการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติและงบประมาณในการดำเนินงาน โดยมี อพ.สธ. เป็นผู้สนับสนุนแผนปฏิบัติงานประจำปี/โครงการ ภายใต้แผนแม่บทของ อพ.สธ.ไปยังแหล่งทุนต่าง ๆ ต่อไป
ผลงานโครงการที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง คณะวิจัยมหาวิทยาลัยนครพนม คณะครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหนองดู่ ปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร และตัวแทนชาวบ้านหนองดู่
ดาวน์โหลดเอกสารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (RSPG) เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ตามพระราชดำ ริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้มีการดำ เนินการสำ รวจรวบรวม ปลูกดูแลรักษาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากและกำ ลังจะหมดไป ต่อมาในปี พ.ศ.2535 อย่างไรก็ดี การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ ของชุมชน ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการใช้อย่างชาญฉลาด (Wise Use) และมีการอนุรักษ์อย่างเหมาะ สม โดยคำ นึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) และขาดความระมัดระวังใน การใช้ ก็ย่อมจะก่อให้เกิดการเสียสมดุลในสภาพตามธรรมชาติได้ การบริการวิชาการในครั้งนี้ได้ บูรณาการงานวิจัยนี้ที่มุ่งศึกษาเก็บรวบรวมพันธุ์พืช จัดทำ ฐานข้อมูลของพันธุ์ไม้ป่าและเรียนรู้และ สร้างแนวทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพรรณพืชในป่าชุมชนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ เข้ามาระบุตำ แหน่งพืชในป่าชุมชนร่วมด้วย ซึ่งพื้นที่ป่าชุมชนนั้นคือป่าชุมชน บริเวณใกล้เคียงพื้นที่โรงเรียนตำ รวจตระเวนชายแดนบ้านหนองดู่ ในพื้นที่ป่าชุมชน วัดป่าพัฒนา จิต บ้านหนองดู่ ตำ บลนาใน อำ เภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ทั้งนี้มีทุกภาคส่วนร่วมดำ เนิน โครงการกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดแนวทางในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่า ชุมชนเป็นไปอย่างยั่งยืน และพัฒนางานวิจัยควบคู่ไปกับงานบริการวิชาการต่อไป
ดาวน์โหลดเอกสารศูนย์ประสานโครงการ อพ.สธ. นครพนม เข้าร่วมประชุมแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศูนย์ประสานโครงการ อพ.สธ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อํานวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประธานในการประชุม ได้เรียนเชิญผู้แทนศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธ์พืชฯ มหาวิทยาลัยนครพนม จึงได้มอบหมาย อาจารย์จรินทร โคตพรม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
ดาวน์โหลดเอกสารกิจกรรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เครือข่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบหมายอาจารย์จรินทร โคตพรม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เเละบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานสนองพระราชดำริ ของหน่วยงานเครือข่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 14 สถาบัน บรรยายพิเศษ : การขับเคลื่อนการดำเนินงานสนองพระราชดำริระหว่างเครือข่ายฯ และการสนับสนุนการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและงานสวนพฤกษาศาสตร์โรงเรียนในพื้นที่เป้าหมาย โดย ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. รับฟังบรรยายพิเศษ : แนวทางการประเมิน Carbon Footprint ขององค์กร โดย วิทยากรจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน อพ.สธ มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปี 2567
ดาวน์โหลดเอกสารกิจกรรมประชุม จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ อพ.สธ. มหาวิทยาลัยนครพนม วันที่ 19 ธันวาคม 2567 ณ อาคารสาธิตวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยนครพนม โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม กล่าวเปิดและชี้แจงการขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ อพ.สธ.และการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มนพ.และ โครงการ อพ.สธ.-มนพ. และได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โครงการ อพ.สธ. และเลขานุการคณะกรรมการ อพ.สธ. สำนักพระราชวัง เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง "แนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการและบทบาทการดำเนินงานภายใต้ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.- มนพ. โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โครงการ อพ.สธ.-มนพ. ร่วมพิจารณาทรัพยากรพื้นถิ่น สร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากร พื้นที่นครพนมและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ 1.มะก๊อ หรือ หมากก้อ (พันธุ์เมือง) 2.สมอไทย 3.มะสังข์ ------------------------------------ Workshop on Action Plan Development for the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at Nakhon Phanom University On December 19, 2024, Research and Development Institute (RDI) of Nakhon Phanom Unversity hosted a workshop to develop an action plan for the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. The welcoming adress was delivered by Prof. Dr. Thawadchai Suppadit, Acting President of Nakhon Phanom University, who also provided guidance on the project's operations. The event also featured Dr. Piyarat Parinyapong Charoensap, Assistant Director of the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Project as a guest speaker. She shared insights on the topic: "Guidelines for Action Plan Development and Roles of Operations under the Coordination Center of the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at Nakhon Phanom University." The workshop also included the project subcommittee, which evaluated local plant resources, emphasizing the importance of genetic conservation in Nakhon Phanom and surrounding areas. Notable plants discussed were Makor (local variety), Terminalia chebula, and Mak Sang.
ดาวน์โหลดเอกสาร