ข่าวสารด้านวิจัย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
ด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารทุนวิจัย และนวัตกรรมของประเทศโดยมุ่งเน้นผลสำเร็จจากการวิจัย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ทั้งมิติด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและชุมชน และด้านนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมของ วช. เป็นไปตามเป้าประสงค์ของทั้ง 2 ยุทธศาสตร์ จึงได้กำหนดกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
แผนงาน P9 พัฒนาสังคมสูงวัยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
แผนงาน P11 พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ขจัดความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ
แผนงาน P12 พัฒนานโยบายและต้นแบบสำหรับ สังคมคุณธรรม การแก้ไขปัญหาคอรัปชัน และ การเสริม สร้างธรรมาภิบาล โดยใช้การวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
แผนงาน P14 พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสวัสดิภาพสาธารณะในการดำรงชีวิต โดยใช้การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม
แผนงาน P15 พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม
แผนงาน P16 พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติ ทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม
แผนงาน P17 พัฒนาและประยุกต์ใช้มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์เพื่อส่งเสริม คุณค่าและความงอกงามของศิลปะและวัฒนธรรม ให้เป็นทุนสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เป็นอารยะอย่างยั่งยืน และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลง
แผนงาน การจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (KM)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
แผนงาน P21 ยกระดับการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร ที่มีทักษะสูง ให้มีจำนวนมากขึ้น
วช. เปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2565 - 11 สิงหาคม 2565 ภายในเวลา 18.00 น.
- นักวิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคน ต้องยืนยันการเข้าร่วมการทำวิจัยในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น.
- หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย ต้องรับรองข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น.
การประกาศผลการพิจารณา
วช. จะประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นทางเว็บไซต์ www.nrct.go.th และhttps://nriis.go.th
รายละเอียดเอกสารดาวน์โหลด

บพค. เปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) ประจำปีงบประมาณ 2566
บพค. เปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) ประจำปีงบประมาณ 2566
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2566
เพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ในทุกระดับและทุกมิติ ให้เป็นแรงงานที่มีศักยภาพสูงและมีทักษะแห่งอนาคต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจอย่างฉับพลันในโลกยุคหลังโควิด-19 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีแผนงานที่เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 3
P18 (S3) ขับเคลื่อนการวิจัยขั้นแนวหน้าที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า รวมทั้งการนำผลการวิจัยขั้นแนวหน้าประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอด
N36 (S3P18) วิจัยขั้นแนวหน้าในสาขาสำคัญเพื่อประยุกต์และพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจ BCG
“High Caliber Impact Oriented Researchers” ประเด็น การพัฒนานวัตกรรมเนื้อสัตว์โปรตีนสูงที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (Cultured Meat) โปรตีนจากพืชหรือจุลชีพ (Plant/Microbe-Based Protein) เพื่อเป็นทางเลือกของอาหารแห่งอนาคต
N36 (S3P18) “High Caliber Impact Oriented Researchers” ประเด็น การวิจัยขั้นแนวหน้าด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ที่สร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการต่อยอดสู่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการแพทย์เฉพาะบุคคล (Personalized Medicine)
N37 (S3P18) วิจัยขั้นแนวหน้าด้านฟิสิกส์พลังงานสูงและพลาสมา ระบบโลกและอวกาศ ควอนตัม และงานวิจัยเพื่ออนาคต
“High Caliber Impact Oriented Researchers” ประเด็น การวิจัยขั้นแนวหน้าด้านเทคโนโลยีฟิสิกส์พลังงานสูง (High Energy Physics) เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum) และ/หรือ เทคโนโลยีเพื่ออนาคตอื่นๆ
N39 (S3P19) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นแกนนำหลักในภาคีสำคัญของโลกด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่ออนาคต
การวิจัยสำหรับการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ในรูปแบบกลไกที่ส่งเสริมให้นกวิจัยไทยมีโอกาสเข้าร่วมภาคีเครือข่ายชั้นนำระดับโลก
P19 (S3) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศ
N40 (S3P19) พัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า เพื่อสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายด้านเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของประเทศและการป้องกันประเทศ
“High Caliber Impact Oriented Researchers” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Net Zero) เพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
“High Caliber Impact Oriented Researchers” โจทย์วิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านจักรวาลนฤมิต (AI Metaverse) เพื่อสอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ยุทธศาสตร์ที่ 4
P21 (S4) ยกระดับการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร ที่มีทักษะสูง ให้มีจำนวนมากขึ้น
F13 (S4P21) ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร ที่มีทักษะสูง ให้มีจำนวนมากขึ้น และตรงตามความต้องการของประเทศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
National Postdoctoral/Postgraduate System โจทย์วิจัย การพัฒนาระบบส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยหลังปริญญาเอก และหลังปริญญาโท เพื่อเป็นกำลังคนสำคัญด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า
National Postdoctoral/Postgraduate System โจทย์วิจัย การพัฒนาระบบส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยหลังปริญญาเอก และหลังปริญญาโท เพื่อเป็นกำลังคนสำคัญด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Circular-Green Economy: BCG
National Postdoctoral/Postgraduate System โจทย์วิจัย ASEAN Talent Mobility
National Postdoctoral/Postgraduate System โจทย์วิจัย การพัฒนาระบบส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยและพัฒนา ระดับหลังปริญญาเอก และหลังปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์และการศึกษา ด้วยกลไกการรวมกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา
N44 (S4P21) พัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีสมรรถนะและความรู้ ฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมถึง Coding โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การพัฒนาระบบและกลไก เพื่อเพิ่มทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ Coding
รายละเอียเพิ่มเติม

การขยายระยะเวลาการยื่นข้อเสนอโครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
การขยายระยะเวลาการยื่นข้อเสนอโครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคณะกรรมการ พิจารณาโครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีด ความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ข้อเสนอ โครงการฯ ที่สถาบันอุดมศึกษาประสงค์จะยื่นในรอบที่ 2 มีความสมบูรณ์และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการยื่นข้อเสนอโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 2 ออกไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2565
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://drive.google.com/drive/folders/1FogB9aqT-KIpYqpciCxgeLOv6XnDm-fR?usp=sharing
ประชาสัมพันธ์


มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดรับสมัคร 1,050 อัตรา 106 ตำบล โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดรับสมัคร 1,050 อัตรา 106 ตำบล โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ในพื้นที่ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.บึงกาฬ
รับสมัครระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2565
อัตราค่าตอบเเทน
1.บัณฑิต (จบใหม่ไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 525 อัตรา ค่าจ้าง 15,000 บาท/เดือน
2.ประชาชน จำนวน 525 อัตรา ค่าจ้าง 9,000 บาท/เดือน
ช่องทางการสมัคร (ออนไลน์) ลิงค์รับสมัครเว็บไซต์ : https://u2tbcg.com
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการ U2T BCG กรุณาติดต่อ 0 4253 2477 ต่อ 301 , 0 4258 7291
#โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยนครพนม รุ่นที่ 2
ประกาศสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยนครพนม รุ่นที่ 2
ตามที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้กำหนดจัดอบรมโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยนครพนม รุ่นที่ 2 ในระหว่างวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยนครพนม ให้กับอาจารย์ และนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ พร้อมทั้งพัฒนาข้อเสนอโครงการแบบบูรณาการกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย โดยได้เปิดรับสมัครบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิจัยและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในโครงการไปแล้วนั้น
บัดนี้ มหาวิทยาลัยนครพนมได้ปิดรับสมัครแล้ว และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนครพนม ได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้สมัครที่มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ : ลูกไก่" มหาวิทยาลัยนครพนม รุ่นที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด ดังมีรายชื่อตามเอกสารแนบ ทั้งนี้ หากมีผลการพิจารณาเพิ่มเติม จะประกาศให้ทราบต่อไป
_______________________________________________________________________
#RDI #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยนครพนม

"การบริหารจัดหารด้านครุภัณฑ์ของหน่วยรับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ที่ได้รับงบประมาณ ววน." ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และพ.ศ.2565
การบริหารจัดหารด้านครุภัณฑ์ของหน่วยรับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
ที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ววน." ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และพ.ศ.2565
ตามที่การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ครั้งที่ 2/2565
ผู้รับเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านครุภัณฑ์ของหน่วยรับ
งบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณ
ของกองทุนส่งเสริม ววน. มีประสิทธิภาพ นั้น
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ
ของ กสว. จึงขอความร่วมมือให้หน่วยรับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 ที่มีเงินอุดหนุนด้านครุภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ในคำรับรองดำเนินการ ดังนี้
สำหรับงบประมาณด้านครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขอให้หน่วยงานดำเนินการตรวจสอบและดำเนินการ รายละเอียดดังไฟลล์แนบ

Download เอกสารระบบ NRIIS
สามารถ Download เอกสารระบบ NRIIS ได้ที่ https://nriis.go.th/Manual.aspx

แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ.2565-2566
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย ที่มีภารกิจทางการเกษตร ดูแล
พี่น้องเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จำนวนมากว่า 6.6 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 149 ล้านไร่
ผ่านการขับเคลื่อนในโครงการสำคัญต่างๆ ตามนโยบายของกระทรวงและสหกรณ์ เช่น เกษตรแปลงใหญ่ ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เกษตรทฤษฎีใหม่ การวางแผนการผลิตพืชโดยใช้ Agri-map
การบริหารจัดการแหล่งน้ำ การพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) และ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young
Smart Farmer) เป็นต้น โดยในปี 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มีนโยบายการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของประเทศ มุ่งเน้นการ
นำเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์และ
โนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานครอบคลุมถึง
การนำ Big Data, Government Technology รวมถึง Application ต่างๆ มาช่วยสนับสนุนการพัฒนาการ
เกษตร มีการพัฒนาแปลงเรียนรู้และเกษตรแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรแม่นยำ เกษตรอัจฉริยะ
หรือ Smart Agriculture และ IoTs Platform มาช่วยในการขับเคลื่อนดำเนินการ ตลอดจนการสนับสนุนด้าน
การจัดการ การขนส่งภาคการเกษตรหรือโลจิสติกส์ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบ E-commerce นอกจากนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังขับเคลื่อนงานธุรกิจเกษตรหรือ Agribusiness ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งการปฏิรูปภาคการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งด้านการเกษตร เครื่องจักรกลการเกษตร เซนเซอร์ทางการเกษตร หุ่นยนต์ทางการเกษตร I0Ts เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ N และอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือในการปรับ ใช้ตลอดห่วงโซ่การผลิตไปจนถึงการตลาด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกสำหรับการรองรับ disruptive tcchnology ภาคการเกษตรที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น
กิจกรรม

ธนาคารออมสินภาค 10 จังหวัดอุดรธานี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น จำนวน 5 โครงการ ในเขตพื้นที่อำเภอธาตุพนม อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทนและอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ธนาคารออมสินภาค 10 จังหวัดอุดรธานี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น จำนวน 5 โครงการ ในเขตพื้นที่อำเภอธาตุพนม อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทนและอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2565 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบอาจารย์จรินทร โคตพรม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานร่วมกับธนาคารออมสินภาค 10 จังหวัดอุดรธานี นำโดย คุณอุษณีย์ เชาว์ชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการธฯคารออมสินภาค 10 พร้อมด้วยบุคลากร ในการให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน อาทิ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ที่เน้นการสร้างเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ท้องถิ่นร่วมกับความต้องการของชุมชน
- การสร้างช่องทางการตลาดที่สามารถส่งเสริมการขายให้กับชุมชนในรูปแบบ online และ Offline
- การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้มีการคิดต้นทุน-กำไรในการจำหน่ายของชุมชน
ให้กับทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและทีมนักศึกษาที่รับผิดชอบโครงการย่อยภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ทั้ง 5 ทีม
✅1️⃣. โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านน้ำก่ำ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนมส่งเสริมชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้และการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวจากเกษตรริมฝั่งโขงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวการเรียนรู้เชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยวิทยาลัยธาตุพนม
สนใจสอบถามได้ที่ เบอร์โทรศัพท์/Line 091-0644598
✅2️⃣.ทีมโครงการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนนาจอกโฮมสเตย์บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม ยกระดับมาตรฐานที่พักโฮมสเตย์ให้เป็นต้นแบบโฮมสเตย์ที่ โดยการใช้อาหาร อาทิ ไข้หมูสับอบหม้อเวียดนาม ชาอัสสัมสมุนไพรในการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ โดยวิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ,คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ,คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สนใจสอบถามได้ที่ Facebook : นาจอกโฮมสเตย์ Najok homestay https://www.facebook.com/NajokHomestay2022 , เบอร์โทรศัพท์ 090 2621847, Line : นาจอกโฮมสเตย์
✅3️⃣.ทีมโครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจกลุ่ม OTOPs ชุมชนไทแสก ตำบลอาจสามารถ ปรับปรุงและพัฒนาสินค้าพร้อมทั้งยกระดับสินค้าชุมชนไทแสก อาทิ เมี่ยงตาสวดไทแสก , น้ำพริกปลาแห้ง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวของชุมชนไทแสกและเพิ่มช่องทางออนไลน์ในการจัดจำหน่าย โดย วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ, คณะเกษตรและเทคโนโลยี
สนใจสอบถามได้ที่ Facebook : ชุมชนไทแสก ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง https://www.facebook.com/jaruwan2513 , เบอร์โทรศัพท์ : 061 437 4637, Line : ชุมชนไทแสก
✅4️⃣.ทีมโครงการการออกแบบและพัฒนาสินค้าที่ระลึกของแหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์บ้านพนอม
อำเภอท่าอุเทน ออกแบบและพัฒนาสินค้าที่ระลึก อาทิ สบู่สมุนไพรรอยตีนไดโนเสาร์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสบู่สมุนไพรบ้านพนอมให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อประชาสัมพันธ์ของแหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์ โดยคณะครุศาสตร์
สนใจสอบถามได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080 0121 973
✅5️⃣.ทีมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า ชุมชนบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม ออกแบบลายผ้าให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น บรรจุภัณฑ์ สร้างแบรนด์และตราสินค้าให้เป็นที่จดจำพร้อมทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่กลุ่มชุมชน โดยคณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สนใจสอบถามได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 061 0496 188
#โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
#จัดบูทแสดงสินค้าในงานNPUExcellencecenterEXPO2020
________________________________________________________________
#RDI #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยนครพนม

ชี้แจงการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ชี้แจงการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
วันที่ 23 มิถุนายน 2565
สถาบันวิจัยและพัฒนาจัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชี้แจงการดำเนินการโครงการ ผ่านระบบ Online Zoom Meeting และ อาจารย์ จรินทร โคตพรม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ชี้แจงการใช้งานระบบการรับสมัครและการคัดเลือกผ่านระบบ โดยมี คณบดี/ผู้อำนวยการ และอาจารย์ ผู้รับผิดชอบโครงการของคณะ/วิทยาลัย เข้าร่วมประชุม
พร้อมทั้ง แลกเปลี่ยนประเด็นข้อสงสัยและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนครพนม ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิผล ต่อไป
ขอเชิญชวนทุกท่านกดติดตามเพจ Facebookสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม https://www.facebook.com/rdi.npu.ac.th
#RDI #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยนครพน

การวิพากษ์ รายงานการประเมินตนเอง(SAR)
การวิพากษ์ รายงานการประเมินตนเอง(SAR)
วันที่ 20 มิถุนายน 2565
สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดประชุมโครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อวิพากษ์ รายงานการประเมินตนเอง(SAR) ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรภายในสถาบันวิจัยและพัฒนาทุกท่านมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นและตรวจสอบความถูกต้องของผลการดำเนินงานและเอกสารหลักฐานที่นำมาเขียนในรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งในปีการศึกษา 2564 สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอรับการประเมินทั้งสิ้นจำนวน 2 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้ โดยประเมินตนเองไว้ที่ค่าคะแนน 4.77 ระดับ ดีมาก โดยกำหนดวันรับการประเมินคุณภาพภายใน ในวันพุธ ที่ 6 กรกฎาคม 2565
ขอเชิญชวนทุกท่านกดติดตามเพจ Facebookสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม https://www.facebook.com/rdi.npu.ac.th
#RDI #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยนครพนม
วีดีโอ

ผศ. ดร.กัญลยา มิขะมา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา